บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันจันทร์ ที่ 28 กันยายน 25623
เวลา 12:30-17:30
รหัสวิชา
EAED4211Learning
Provision in Early Childhood Education
การจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคป
หัวใจของไฮ/สโคป
หลักปฏิบัติสำคัญที่ถือเป็นหัวใจของการจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคปนั้น ประกอบด้วยกระบวนการ 3 กระบวนการ อันได้แก่
1. การวางแผน (Plan) เป็นการให้เด็กกำหนดแนวทางการปฏิบัติ
หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือตามสิ่งที่ตัวเองสนใจ
โดยคุณครูจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กสนทนากับครู หรือสนทนาระหว่างเพื่อนด้วยกัน
เพื่อวางแผนการทำงานอย่างเหมาะสม ว่าจะทำอะไร อย่างไร
การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กต้องมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ
ซึ่งอาจจะบันทึกด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูช่วยบันทึกก็ได้
ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยส่งเสริมความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองของเด็กและความรู้สึกในการควบคุมตนเอง
ทําให้เด็กสนใจในกิจกรรมที่ตนเองได้วางแผนไว้
2. การปฏิบัติ (Do) คือ การให้เด็กลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้อย่างอิสระตามเวลาที่กำหนด
โดยเน้นให้เด็กได้ช่วยกันคิด ทดลองและแก้ปัญหาร่วมกันอย่างมีจุดมุ่งหมาย ได้เรียนรู้ตามประสบการณ์
ค้นพบความคิดใหม่ๆ โดยคุณครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะและให้คำแนะนำ
มากกว่าจะลงไปจัดการด้วยตัวเอง การทบทวน
3. (Review) คือกระบวนการที่ให้เด็กสะท้อนผลงานของตัวเองที่ได้ลงมือทำผ่านการพูดคุยหรือแสดงผลต่างๆ
เพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่
มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ
รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง
องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบไฮ/สโคป
องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบไฮ/สโคปที่นับว่าเป็นจุดเด่นของการจัดการเรียนรู้รูปแบบนี้
และทำให้เป็นรูปแบบการเรียนรู้นี้แตกต่างจากแนวการจัดการเรียนรู้รูปแบบอื่น ๆ นั้น
จำเป็นจะต้องมีองค์ประกอบที่ต้องคำนึงถึง 6 องค์ประกอบด้วยกัน
จึงจะทำให้การจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคปประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ
ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 6 ข้อ มีดังนี้
1.
เปิดโอกาสให้เด็กเป็นผู้ริเริ่มในการเลือกและตัดสินใจทำกิจกรรมและใช้เครื่องมือต่างๆตามความสนใจของตัวเอง
ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากกว่าได้รับการบอกต่อความรู้จากผู้ใหญ่
3. พื้นที่และเวลาในห้องเรียนแบบไฮ/สโคป
ต้องมีพื้นที่เพียงพอต่อการทำกิจกรรมของเด็ก
ทั้งการทำกิจกรรมคนเดียวและการทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม รวมถึงมีการจัดมุมประสบการณ์ต่าง
ๆ เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ผ่านบทบาทสมมุติในมุมประสบการณ์ต่าง
ๆ และควรจัดสรรเวลาในการดำเนินกิจกรรมในแต่ละวันให้เพียงพอ
โดยไม่มากหรือน้อยเกินไป ซึ่งจะช่วยให้เด็กรู้จักการรักษาเวลาอีกด้วย
4. เน้นให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้
เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับวัตถุและนำไปสู่การเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์
และความเกี่ยวข้องของวัตถุนั้นได้ด้วยตัวเอง
5. ภาษาจากเด็ก
เป็นสิ่งที่เด็กสะท้อนประสบการณ์และความเข้าใจของเด็กออกมาเป็นคำพูด
ซึ่งเด็กมักจะเล่าว่าตนเอง กําลังทําอะไร หรือทําอะไรไปแล้วในแต่ละวัน
เมื่อเด็กมีอิสระในการใช้ภาษาเพื่อสื่อความคิด
เด็กจะรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น
6. ครูคือผู้สนับสนุนและชี้แนะ
ซึ่งครูในรูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคปนั้น จะต้องเป็นบุคคลที่คอยรับฟังและส่งเสริมให้เด็กคิด
ทําสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
และเป็นผู้สร้างสรรค์ห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้พบกับประสบการณ์สําคัญมากมาย
ในชิวตประจำวันอย่างเป็นธรรมชาติ
การสอนแบบโครงการเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีลักษณะสำคัญดังนี้
ความคิดพื้นฐานเชื่อว่า
การเรียนรู้ของเด็กมาจากการกระทำ เด็กเป็นผู้ที่ต้องพัฒนา มีความคิด
มีความมุ่งหมาย
ความต้องการที่จะเรียนรู้ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นของตนเองต้องพึ่งตนเอง
การสอนแบบโครงการมุ่งพัฒนาทางร่างกายและจิตใจของเด็กไปพร้อมกัน
วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ
เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา
ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา
จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ
เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา
พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้
ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น
ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ
เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่
วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา
หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน
มีกิจกรรมหลักในโครงการ 4 กิจกรรมคือ
กิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน กิจกรรมทัศนศึกษา กิจกรรมสืบค้น
และกิจกรรมนำเสนอผลงาน
กิจกรรมสืบค้นมีหลากหลายได้แก่
การรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การสัมภาษณ์ การปฏิบัติทดลอง การรวบรวมเอกสาร
การรายงาน การจัดแสดงผลงานที่ได้จากโครงการ เป็นต้น
เรื่องที่จะเรียนมาจากความสนใจของเด็กที่ต้องการเรียนอย่างลุ่มลึก
เด็กจึงเป็นผู้วางแผนและร่วมคิด ร่วมมือสืบค้นกับผู้อื่น ครูเป็นผู้สนับสนุน
สังเกตและอำนวยความสะดวก หากเรื่องนั้นมีความเป็นไปได้ มีแหล่งข้อมูลเพียงพอ
พ่อแม่และชุมชนมีความพร้อมที่จะร่วมมือ
ทักษะการเรียนรู้หนังสือจำนวน
ให้บูรณาการในหัวเรื่องโครงการ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษา ดังนั้น
หัวเรื่องหนึ่งที่เด็กสนใจเรียนรู้นั้นต้องมีเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์และควรสำรวจที่โรงเรียนเหมาะกว่าที่บ้าน
การสอนแบบโครงการมีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยอย่างไร?
การจัดการสอนแบบโครงการเป็นที่สนใจของนักการศึกษาจึงได้นำไปใช้และวิจัยสรุปถึงประโยชน์ที่มีต่อเด็กดังนี้
เด็กจะเห็นคุณค่าของตนเอง
เป็นแนวทางให้เด็กพึ่งพาตนเองได้
ส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสที่จะประยุกต์ใช้ทักษะที่มีอยู่
เด็กเกิดแรงจูงใจภายในและความสามารถที่เกิดจากตัวเด็กเองในงานและกิจกรรมที่ทำ
เด็กรู้จักตัดสินใจว่าควรทำอะไร
และผู้ใหญ่ยอมรับในความต้องการของเด็ก
เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
อย่างมีความสุข สนุกสนานเพราะเด็กได้เรียนในสิ่งที่ตนเองสนใจ
รู้จักประยุกต์ใช้ความรู้
ส่งเสริมให้เด็กมีวิธีการทำงานอย่างมีแบบแผน
สามารถนำรูปแบบการสืบค้นความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง
สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและครอบครัว
เนื่องจากการสอนแบบโครงการ พ่อแม่
ผู้ปกครองจะต้องร่วมมือกับครูสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กทุกรูปแบบ
แนวการสอนแบบโครงการ (Project Approach)
การสอนแบบโครงการมีลักษณะอย่างไร?
การสอนแบบโครงการเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีลักษณะสำคัญดังนี้
ความคิดพื้นฐานเชื่อว่า
การเรียนรู้ของเด็กมาจากการกระทำ เด็กเป็นผู้ที่ต้องพัฒนา มีความคิด
มีความมุ่งหมาย
ความต้องการที่จะเรียนรู้ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นของตนเองต้องพึ่งตนเอง
การสอนแบบโครงการมุ่งพัฒนาทางร่างกายและจิตใจของเด็กไปพร้อมกัน
วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ
เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา
ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา
จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ
เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา
พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้
ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น
ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ
เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่
วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา
หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน
มีกิจกรรมหลักในโครงการ 4 กิจกรรมคือ
กิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน กิจกรรมทัศนศึกษา กิจกรรมสืบค้น
และกิจกรรมนำเสนอผลงาน
กิจกรรมสืบค้นมีหลากหลายได้แก่
การรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การสัมภาษณ์ การปฏิบัติทดลอง การรวบรวมเอกสาร
การรายงาน การจัดแสดงผลงานที่ได้จากโครงการ เป็นต้น
เรื่องที่จะเรียนมาจากความสนใจของเด็กที่ต้องการเรียนอย่างลุ่มลึก
เด็กจึงเป็นผู้วางแผนและร่วมคิด ร่วมมือสืบค้นกับผู้อื่น ครูเป็นผู้สนับสนุน
สังเกตและอำนวยความสะดวก หากเรื่องนั้นมีความเป็นไปได้ มีแหล่งข้อมูลเพียงพอ
พ่อแม่และชุมชนมีความพร้อมที่จะร่วมมือ
ทักษะการเรียนรู้หนังสือจำนวน
ให้บูรณาการในหัวเรื่องโครงการ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษา ดังนั้น
หัวเรื่องหนึ่งที่เด็กสนใจเรียนรู้นั้นต้องมีเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์และควรสำรวจที่โรงเรียนเหมาะกว่าที่บ้าน
การสอนแบบโครงการมีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยอย่างไร?
การจัดการสอนแบบโครงการเป็นที่สนใจของนักการศึกษาจึงได้นำไปใช้และวิจัยสรุปถึงประโยชน์ที่มีต่อเด็กดังนี้
เด็กจะเห็นคุณค่าของตนเอง
เป็นแนวทางให้เด็กพึ่งพาตนเองได้
ส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสที่จะประยุกต์ใช้ทักษะที่มีอยู่
เด็กเกิดแรงจูงใจภายในและความสามารถที่เกิดจากตัวเด็กเองในงานและกิจกรรมที่ทำ
เด็กรู้จักตัดสินใจว่าควรทำอะไร
และผู้ใหญ่ยอมรับในความต้องการของเด็ก
เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
อย่างมีความสุข สนุกสนานเพราะเด็กได้เรียนในสิ่งที่ตนเองสนใจ
รู้จักประยุกต์ใช้ความรู้
ส่งเสริมให้เด็กมีวิธีการทำงานอย่างมีแบบแผน
สามารถนำรูปแบบการสืบค้นความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง
สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและครอบครัว
เนื่องจากการสอนแบบโครงการ พ่อแม่
ผู้ปกครองจะต้องร่วมมือกับครูสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กทุกรูปแบบ
การจัดการเรียนการสอนแบบ มอนเตสซอรี่
การสอนแบบมอนเตสซอรี่
เริ่มจากการสังเกต
ศึกษาพัฒนาการของเด็กของแต่ละคน การสอนแบบมอนเตสซอรี่จะไม่เน้นการเรียนรู้แบบท่องจำ
แต่จะเน้นการเล่นหรือการทำกิจกรรมเป็นหลัก โดยการให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมต่าง ๆ
ตามที่ตัวเองสนใจ มอนเตสซอรี่ได้จัดทำอุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่หลากหลายตามความสนใจและตามวุฒิภาวะของเด็กที่แตกต่างกัน ซึ่งจะช่วยพัฒนาทางด้านประสบการณ์ชีวิต
งานวิชาการ และทางประสาทสัมผัส เช่น การแต่งกาย การทำความสะอาด
การขัดและอุปกรณ์ในการทำงานบ้าน
สำหรับอุปกรณ์จะมีการออกแบบให้เด็กได้พัฒนาสติปัญญา
และพัฒนาการคิดอย่างมีระบบมีเหตุผล เช่น อุปกรณ์ทางคณิตศาสตร์
อุปกรณ์ทางภาษาและหลักภาษา การมองเห็น การชิมรส การได้ยิน การดมกลิ่น
เป็นความรู้สึกที่ใช้ประสาทสัมผัสร่วมกัน
แนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่จะเริ่มจากการเรียนรู้แบบรูปธรรมไปสู่แบบนามธรรม
และอุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่สามารถนำมาใช้ได้หลายรูปแบบ
อุปกรณ์เป็นสิ่งที่ช่วยควบคุมตัวเด็กในการทำงาน เด็กจะพอใจเมื่อทำงานต่าง ๆ
ได้ถูกต้อง และในการจัดเก็บอุปกรณ์จะต้องมีที่เฉพาะสำหรับวางอุปกรณ์
เพื่อที่เด็กจะได้จัดเก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย
เมื่อเล่นเสร็จแล้วซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จักการเรียนรู้การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน
หลักการสอนของมอนเตสซอรี่
เด็กได้รับการยอมรับนับถือ
เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เด็กจึงควรได้รับการยอมรับในลักษณะเฉพาะของตัวเอง
คุณครูควรจัดกิจกรรมพัฒนาให้เด็กแต่ละคนตามความสามารถ
และพัฒนาการความต้องการตามธรรมชาติของเด็กในแต่ละช่วงวัย
จิตซึมซับ
เด็กมีจิตแห่งการหาความรู้ที่เปรียบเสมือนฟองน้ำ โดยเด็กจะซึมซับเอาข้อมูลต่าง ๆ
จากสิ่งแวดล้อมเข้าไปในจิตของตัวเอง
ช่วงเวลาหลักของชีวิต
เด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี
เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจ
ในช่วงเวลานี้ เด็กควรมีอิสระในการเลือกกิจกรรมที่ตัวเองสนใจ
การเตรียมสิ่งแวดล้อม
เด็กจะได้รับการพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
จากการจัดสภาพแวดล้อมที่มีความพร้อมอย่างมีระบบและมีจุดมุ่งหมายไปตามขั้นตอน
โดยมีสื่ออุปกรณ์มอนเตสซอรี่เป็นตัวกำหนดขอบเขตในการทำงาน
การศึกษาด้วยตัวเอง
เด็กได้รู้จักเรียนรู้ระเบียบวินัยของการอยู่ร่วมกันภายในสังคม
และมีอิสระในการทำงาน รู้จักเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบ
และมีความภาคภูมิใจต่อความสำเร็จในการทำงาน
จนทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตัวเอง
การวัดประเมินผล
คุณครูในชั้นเรียนจะเป็นผู้ประเมินผล
โดยใช้วิธีการสังเกตและวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
ซึ่งครูผู้มีประสบการณ์และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่
จะมีความเชี่ยวชาญในการสังเกต จดบันทึก และวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เรียน
.การจัดการเรียนรู้แบบSTEM
การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry) 5Es ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้
1. ขั้นสร้างความสนใจ (engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ
ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเอง
หรือเกิดจากการอภิปรายในกลุ่ม
เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น
หรือเป็นเรื่อง ที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนรู้มาแล้ว
เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม
กำหนดประเด็นที่จะศึกษาในกรณีที่ยังไม่มีประเด็นใดน่าสนใจ
ครูอาจให้ศึกษาจากสื่อต่างๆ หรือเป็นผู้กระตุ้น ด้วยการเสนอประเด็นขึ้นมาก่อน
แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือคำถามที่ครูกำลังสนใจเป็นเรื่องที่จะใช้ศึกษา
เมื่อมีคำถามที่น่าสนใจ และนักเรียนส่วนใหญ่ยอมรับให้เป็นประเด็น
ที่ต้องการศึกษาจึงร่วมกันกำหนดขอบเขตและแจกแจงรายละเอียดของเรื่องที่จะศึกษาให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
อาจรวมทั้งการรวบรวมความรู้ประสบการณ์เดิม หรือความรู้จากแหล่งต่างๆ ที่จะ
ช่วยให้นำไปสู่ความเข้าใจเรื่อง หรือประเด็นที่จะศึกษามากขึ้น
และมีแนวทางที่ใช้ในการสำรวจตรวจสอบอย่างหลากหลาย
2. ขั้นสำรวจและค้นหา (exploration)
เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว
ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้
ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ
วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลายวิธี เช่น ทำการทดลอง ทำกิจกรรมภาคสนาม
การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสร้างสถานการณ์จำลอง (simulation) การศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงหรือจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไป
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (explanation) เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้ว
จึงนำข้อมูล ข้อสนเทศที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่างๆ
เช่น บรรยายสรุป สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ หรือวาดรูป สร้างตาราง ฯลฯ
การค้นพบในขั้นนี้อาจเป็นไปได้หลายทาง เช่น
สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้โต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ได้กำหนดไว้
แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปใดก็สามารถสร้างความรู้และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้
4. ขั้นขยายความรู้ (elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติมหรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น
ถ้าใช้อธิบายเรื่องต่างๆ ได้มาก็แสดงว่าข้อจำกัดน้อย
ซึ่งก็จะช่วยให้เชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น
5. ขั้นประเมิน (evaluation)เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ
ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไรและมากน้อยเพียงใด
จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ
การนำความรู้หรือแบบจำลองไปใช้อธิบายหรือประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์หรือเรื่องอื่นๆ
จะนำไปสู่ข้อโต้แย้งหรือข้อจำกัดซึ่งก่อให้เป็นประเด็นหรือคำถาม
หรือปัญหาที่จะต้องสำรวจตรวจสอบต่อไป
ทำให้เกิดเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ จึงเรียกว่า inquiry cycle
กระบวนการสืบเสาะหาความรู้จึงช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งเนื้อหาหลัก
และหลักการ ทฤษฎี
ตลอดจนการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้ความรู้ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ต่อไป
การจัดการเรียนรู้แบบวอดอร์ฟ
หลักการสอน
หัวใจของการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ
คือ
การสร้างความสมดุลของจิตมนุษย์ 3
ประการ ได้แก่ ความคิด
ความรู้สึก และการกระทำ โดยไม่มีการรบกวนจากเทคโนโลยีภายนอก
ความสงบทางจิตใจจะช่วยให้เด็กเรียนรู้จากการใช้วินัยในตนเอง
วิธีจัดการเรียนการสอน การเรียนการสอนตามแบบวอลดอร์ฟเป็นวิธีการตามแบบธรรมชาติ เป็นไปตามบรรยากาศของชุมชนและตารางกิจกรรมประจำวัน ที่ครูและผู้เรียนจะเรียนรู้ร่วมกันตามความสนใจของเด็ก วิธีการจัดการเรียนการสอนจะเป็นการจัดกระทำทั้งระบบตั้งแต่บรรยากาศของโรงเรียน
สิ่งแวดล้อมและห้องเรียนต้องเป็นไปตามวิถีธรรมชาติ รวมถึงการจัดการเรียนการสอนของครู
ในขั้นตอนการสอนของครูจะมีลักษณะเฉพาะต่างจากการเรียนการสอนแบบอื่น ๆ
ตรงที่การกระตุ้นการเรียนรู้เริ่มจากการแสดงแบบให้เด็กเห็นตามบรรยากาศที่จูงใจ
การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
การเรียนรู้ของวอลดอร์ฟมาจากการซึมซับด้วยการสืบสานโดยตามธรรมชาติและตามธรรมชาติที่หล่อหลอมเข้าภายในตัวเด็กทั้งกายและจิตวิญญาณ บรรยากาศการเรียนรู้รอบตัวเด็กทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนหรือกลางแจ้งต้องเป็นบรรยากาศที่งดงามตามธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ประกอบด้วยความสงบและอ่อนโยน
บทบาทครู
ครูต้องทำหน้าที่ในการติดตามประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของเด็กในการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล
ครูมิใช่เป็นเพียงผู้ที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ แต่ครูจะถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก
ความมุ่งมั่นและความรักอย่างแท้จริงให้กับเด็กเพื่อให้เด็กได้พบโอกาสของการพัฒนาศักยภาพภายในตนเองได้มากที่สุดและเต็มศักยภาพ
ประเมินตนเอง
ให้ความร่วมมือภายในกลุ่มได้ดี สามารถอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ
มุ่งมั่นและตั้งใจในการเรียนรู้
ประเมินเพื่อน
บ้างกลุ่มยังมีการอธิบายเนื้อหาที่เยอะเกินไป ส่วนใหญ่เพื่อนตั้งใจ
และมีการนำเสนอได้ดี
ประเมินอาจารย์
เป็นผู้ตั้งคำถามให้เกิดกระบวนการคิด และอภิปรายเนื้อหาการนำเสนอ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงแนวทางการจัดการเรียนรู้รูปแบบต่างๆที่ได้นำเสนอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น