วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3





วันจันทร์  ที่  24 สิงหาคม 25623

 เวลา 12:30-17:30

 รหัสวิชา  EAED4211Learning Provision in Early Childhood Education

สัปดาห์นี้อาจารย์ได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับแผนการสอนของรุ่นพี่ หน่วย ข้าว ให้กับนักศึกษาได้ฟัง

แล้วจากนั้นอาจารย์ก็พูดเรื่อง EF



กิจกรรมนี้ ช่วยพัฒนากระบวนการคิดของเด็กหรือเป็นการ พัฒนา EF ของเด็ก

ทักษะ EF หรือ Executive Functions ทักษะการบริหารจัดการตนเองขั้นสูง เป็นกระบวนการทางความคิดระดับสูงของสมองส่วนหน้าที่มีความเกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก และการกระทำ เป็นทักษะที่ทุกคนต้องใช้และมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในชีวิต ซึ่งมนุษย์ไม่ได้เกิดมาพร้อมทักษะ EF แต่สามารถพัฒนาได้ด้วยการฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการพัฒนาทักษะ EF คืออายุ 4 – 6 ขวบ เพราะสมองส่วนหน้าพัฒนาได้มากที่สุด

ฝึกทักษะ Executive Functions (EF)

ทักษะ EF หรือ Executive Functions มีทั้งหมด 9 ด้าน โดยแบ่งออกเป็นทักษะพื้นฐาน (Basic) 3 ด้าน และทักษะสูง (Advance) 6 ด้าน ได้แก่

ทักษะพื้นฐาน (Basic) ประกอบไปด้วย

1) Working Memory (ความจำเพื่อใช้งาน) คือ ความสามารถในการเก็บข้อมูลเพื่อประมวลผลและดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองออกมาใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการ

2) Inhibitory Control (ยั้งคิด ไตร่ตรอง) คือ ความสามารถในการยั้งคิดไตร่ตรอง สามารถควบคุมความต้องการ หยุดคิดก่อนที่จะทำหรือพูดได้

3) Shifting หรือ Cognitive Flexibility (ยืดหยุ่นความคิด) คือ ความสามารถในการยืดหยุ่นทางความคิด ร่วมแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน รู้จักพลิกแพลงและปรับตัว เป็นจุดเริ่มต้นของการมีความคิดสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบ

ทักษะสูง (Advance) ประกอบไปด้วย

4) Focus หรือ Attention (จดจ่อ ใส่ใจ) คือ ความสามารถในการใส่ใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยไม่วอกแวก รู้จักการทำงานให้เสร็จเป็นอย่าง ๆ ไป

5) Emotional Control (ควบคุมอารมณ์) คือ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับอารมณ์ตนเองไม่ให้รบกวนผู้อื่น ไม่โกรธเกรี้ยว ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่ายเกินไป รู้จักแสดงอารมณ์อย่างถูกวิธี

6) Self – Monitoring (ติดตาม ประเมินตนเอง) คือ การประเมินตนเองเพื่อหาจุดบกพร่องแล้วนำมาแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น รู้จักไตร่ตรองว่าตัวเองทำอะไร รู้ว่าตัวเองทำอะไร และรู้ว่าใกล้จะเสร็จหรือเรียบร้อยแล้ว

7) Initiating (ริเริ่มและลงมือทำ) คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำ กล้าคิดกล้าทำ ลงมือทำทันที ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

8) Planning and Organizing (วางแผน จัดระบบ ดำเนินการ) คือ การวางแผนจัดการตนเองอย่างเป็นขั้นตอน ดำเนินการตั้งแต่วางเป้าหมาย มองเห็นภาพรวม รู้จักจัดลำดับความสำคัญ จัดระบบ ดำเนินการ และประเมินผล

9) Goal – Directed Persistence (มุ่งเป้าหมาย) คือ การวางเป้าหมายที่ชัดเจน มีความพากเพียรและความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมาย รู้จักฝ่าฟันอุปสรรค หากล้มต้องรู้จักลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย

ทำกิจกรรม ให้จัดเก้าอี้เป็นครึ่งวงกลม อาจารย์ให้ทุกคนบอกชื่อตนเองแต่แนะนำเป็นการทำเสียงด้วยอวัยวะในร่างกายของตัวเราในแต่ละพยางค์

ส่วนแรก ใช้อวัยวะได้ทุกส่วนของร่างกาย

ส่วนที่ 2 ใช้อวัยวะทุกส่วนให้เกิดเสียง ห้ามใช้มือ

ส่วนที่3 ใช้เท้าในการทำให้เกิดเสียง




การประเมิน
ประเมินตนเอง : มีความเข้าใจ อธิบายแสดงความคิดเห็นในการเรียนรู้
ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีการแสดงความคิด และพูดตอบโต้กับอาจารย์
ประเมินอาจารย์ :  สอนเนื้อหาได้ละเอียด มีความเข้าใจง่าย ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดในการเรียนการสอน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น